วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1

กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท  ระบบสืบพันธุ์  และระบบต่อมไร้ท่อ
อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ หากมีระบบใดผิดปกติก็จะส่งผลถึงระบบอื่นด้วย จึงควรรู้จักป้องกันและรักษาให้สมบูรณ์แข็งแรงทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ


ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ต่างๆรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อร่วมทำหน้าที่เรียกว่าอวัยวะและประสานกันเป็นระบบจนเป็นร่างกายซึ่งระบบที่เกี่ยงข้องกันนี้ถ้าหากมีระบบใดผิดปกติจะเกิดความผิดปกติเป็นลูกโซ่
การดูแลสุขภาพไม่เพียงแค่เป็นการเยียวยารักษาแต่รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนที่จะเจ็บป่วย

แนวทางการปฏิบัติ
1.    รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาบน้ำให้สะอาด สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อับชื้น
2.    บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำจิตใจให้ร่าเริงอยู่เสมอ
6.    หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.    ตรวจเช็คร่างกาย

1.2 ระบบประสาท
ระบบประสาทคือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยทุกส่วน รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำ
1.2.1 องค์ประกอบ
            ระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่
1.    ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นในระบบประสาท บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะหนักประมาณ 1.4 กก. แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ Grey Matter ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม อีกชั้นคือ White matter เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท

สมองประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนท้าย
-          สมองส่วนหน้าประกอบด้วย
ซีรีบรัม  อยู่ด้านหน้าสุดเกี่ยวกับด้านความจำความนึกคิด ควบคุมสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ
ทาลามัส อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก
ไฮโพทาลามัส  ควบคุมร่างกายในส่วนนอกอำนาจจิตใจ
-          สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
-          สมองส่วนท้าย
ซีรีเบลลัม อยู่ใต้ซีรีบรัม ประสานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ควบคุมการทรงตัว
พอนส์ ควบคุมการเคี้ยวอาหารและการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า การหายใจ และการฟัง
เมดัลลา ออบลองกาตา ควบคุมการหมุนเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ การไอ จาม
2.    ระบบประสาทส่วนปลาย
2.1 เส้นประสาทสมอง 12 คู่
2.2 เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
2.3 ประสาทระบบอัตโนมัติ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
-          ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
-          ระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
-          หลีกเลี่ยงยาที่ส่งผลกระทบต่อสมอง
-          พยายามผ่อนคลายความเครียด
-          รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบบสืบพันธุ์ 
เพศชาย

                                                            

1.   อัณฑะ สร้างฮอร์โมนและอสุจิ
2.   ถุงหุ้มอัณฑะ
   3.    หลอดเก็บตัวอสุจิ
    4.    หลอดนำตัวอสุจิ
5.    ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
6.    ต่อมลูกหมาก ทายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
7.    ต่อมคาวเปอร์  หลั่งสารหล่อลื่น


 เพศหญิง

  1.     รังไข่  ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศญิง(เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน)
  2.      ท่อนำไข่ ทางผ่านไข่สู่มดลูก
  3.      มดลูก  ที่ฝังตัวของตัวอ่อน
  4.      ช่องคลอด




การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.    ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
2.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.    งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
6.    สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.    ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
8.    ไม่สำส่อนทางเพศ
9.    เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลิตฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อลำเลียงสารผ่านทางกระแสเลือด
1.    ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก
2.    ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3.    ต่อมไทรอยด์  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
4.    ต่อมพาราไทรอยด์  ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
5.    ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน
6.    รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ
7.    ต่อมไทมัส  ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.    ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.    หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
6.    พักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น