วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทในการเต้นลีลาศ


"มารยาทในการเต้นลีลาศ"

 มารยาททางสังคมในการลีลาศ ที่ควรทราบมีดังนี้

การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

ก่อนออกลีลาศ
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อน
หญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

ขณะลีลาศ
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืน *** งจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น

3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

เมื่อสิ้นสุดการลีลาศ
1. สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย
2. เมื่อถึงเวลากลับ ควรกล่าวคำชมเชยและขอบคุณเจ้าภาพ (ถ้ามี)
3. สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน ไปส่งยังที่พัก

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1

กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท  ระบบสืบพันธุ์  และระบบต่อมไร้ท่อ
อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ หากมีระบบใดผิดปกติก็จะส่งผลถึงระบบอื่นด้วย จึงควรรู้จักป้องกันและรักษาให้สมบูรณ์แข็งแรงทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ


ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ต่างๆรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อร่วมทำหน้าที่เรียกว่าอวัยวะและประสานกันเป็นระบบจนเป็นร่างกายซึ่งระบบที่เกี่ยงข้องกันนี้ถ้าหากมีระบบใดผิดปกติจะเกิดความผิดปกติเป็นลูกโซ่
การดูแลสุขภาพไม่เพียงแค่เป็นการเยียวยารักษาแต่รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนที่จะเจ็บป่วย

แนวทางการปฏิบัติ
1.    รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาบน้ำให้สะอาด สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อับชื้น
2.    บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำจิตใจให้ร่าเริงอยู่เสมอ
6.    หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.    ตรวจเช็คร่างกาย

1.2 ระบบประสาท
ระบบประสาทคือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยทุกส่วน รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำ
1.2.1 องค์ประกอบ
            ระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่
1.    ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นในระบบประสาท บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะหนักประมาณ 1.4 กก. แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ Grey Matter ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม อีกชั้นคือ White matter เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท

สมองประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนท้าย
-          สมองส่วนหน้าประกอบด้วย
ซีรีบรัม  อยู่ด้านหน้าสุดเกี่ยวกับด้านความจำความนึกคิด ควบคุมสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ
ทาลามัส อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก
ไฮโพทาลามัส  ควบคุมร่างกายในส่วนนอกอำนาจจิตใจ
-          สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
-          สมองส่วนท้าย
ซีรีเบลลัม อยู่ใต้ซีรีบรัม ประสานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ควบคุมการทรงตัว
พอนส์ ควบคุมการเคี้ยวอาหารและการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า การหายใจ และการฟัง
เมดัลลา ออบลองกาตา ควบคุมการหมุนเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ การไอ จาม
2.    ระบบประสาทส่วนปลาย
2.1 เส้นประสาทสมอง 12 คู่
2.2 เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
2.3 ประสาทระบบอัตโนมัติ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
-          ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
-          ระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
-          หลีกเลี่ยงยาที่ส่งผลกระทบต่อสมอง
-          พยายามผ่อนคลายความเครียด
-          รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบบสืบพันธุ์ 
เพศชาย

                                                            

1.   อัณฑะ สร้างฮอร์โมนและอสุจิ
2.   ถุงหุ้มอัณฑะ
   3.    หลอดเก็บตัวอสุจิ
    4.    หลอดนำตัวอสุจิ
5.    ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
6.    ต่อมลูกหมาก ทายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
7.    ต่อมคาวเปอร์  หลั่งสารหล่อลื่น


 เพศหญิง

  1.     รังไข่  ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศญิง(เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน)
  2.      ท่อนำไข่ ทางผ่านไข่สู่มดลูก
  3.      มดลูก  ที่ฝังตัวของตัวอ่อน
  4.      ช่องคลอด




การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.    ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
2.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.    งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
6.    สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.    ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
8.    ไม่สำส่อนทางเพศ
9.    เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลิตฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อลำเลียงสารผ่านทางกระแสเลือด
1.    ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก
2.    ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3.    ต่อมไทรอยด์  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
4.    ต่อมพาราไทรอยด์  ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
5.    ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน
6.    รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ
7.    ต่อมไทมัส  ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.    ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.    หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
6.    พักผ่อนให้เพียงพอ