วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย การแพทย์แผนไทย การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค


ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่าWisdomหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทยหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือภูมิปัญญาไทยเป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
๑. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
๒. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
๓. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
๔. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
๕. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
๖. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
๗. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาใน ๓ ลักษณะที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ

๑. ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช แลธรรมชาติ
๒. ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือในชุมชน
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย

ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ คือ สามมิติของเรื่องเดียวกัน หมายถึง ชีวิตชุมชนสะท้อนออกมาถึงภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีเอกภาพเหมือนสามมุมของรูปสามเหลี่ยม ภูมิปัญญาจึงเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของคนไทย
จะเห็นได้ว่า ลักษณะภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในลักษณะภูมิปัญญาในการดำเนินวิถีชีวิตขั้นพื้นฐานด้านปัจจัยสี่ ซึ่งประกอบด้วย อาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดทั้งการประกอบอาชีพต่างๆ เป็นต้น
ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่นในสังคม จะแสดงออกมาในลักษณะจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและนันทนาการ ภาษาและวรรณกรรม ตลอดทั้งการสื่อสารต่างๆ เป็นต้น
ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติจะแสดงออกมาในลักษณะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา ความเชื่อต่างๆ เป็นต้น


การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทยหรือมักเป็นที่รู้จักกันว่าการแพทย์แผนโบราณเป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดียพุทธศาสนาและองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือชีวกโกมารภัจจ์
การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา
การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge)ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่
แพทย์แผนไทยประยุกต์คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนไทยโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้องร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตกผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง (ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด 13 รายการ) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทยอาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะสอบใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย และผดุงครรภ์

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพคือ กระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตัวเองและพัฒนาสุขภาพของตัวเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง ไม่ใช่รอหรือหวังพึ่งบริการจากแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น แต่คนจำนวนมากก็ยังมองเห็นว่าการสรางเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่เขาจะได้รับบริการจากแพทย์ นั่นหมายความว่าคนไทยจำนวนหนึ่งยังเห็นว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่รักษาได้ โดยไม่คิดที่จะส่งเสริมสุขภาพตัวเองและป้องกันโรค เพราะคิดว่าเมื่อป่วยก็สามารถเบิกค่ารักษาได้ อย่างไรก็ตาม
กลยุทธ์พื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ 5 ประการซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้ ก็จะยิ่งเห็นชัดเจนขึ้นกว่าการสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในจึงจะเป็นไปได้และยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1คือ การกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพเป็นนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าเป็นองค์กรระดับใด การจะกำหนดนโยบายนี้ได้ต้องอาศัยความเข้าใจของผู้กำหนดนโยบาย หรือแรงผลักดันจากสมาชิกในองค์กรที่เห็นด้วยกับการมีนโยบายนี้ในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ผู้กำหนดนโยบายเห็นคล้อยตาม ความเห็นของผู้กำหนดนโยบายหรือของสมาชิกในองค์กรที่จะไปผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นนโยบายดังกล่าว ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในบุคคลนั้นเอง
กลยุทธ์ที่ 2คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การจัดให้มีและคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพเป็นผลต่อเนื่องจากการมีนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพ ตามด้วยการที่คนและกลุ่มคนมีความเข้าใจและจิตสำนึกที่ดีว่าการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพเขาได้
กลยุทธ์ที่ 3คือ การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนข้อนี้เป็นข้อที่ชัดเจนว่า การสร้างเสริมสุขภาพจะต้องเป็นกิจรรมต่อเนื่องที่ชุมชนดำเนินการด้วยตัวเอง ในบางกรณีอาจจะอาศัยความช่วยเหลือทางการเงิน ทรัพยากรและทางเทคนิคจากภายนอก แต่ในระยะยาวชุมชนนั้นต้องดำเนินกิจกรรมนี้ด้วยตัวเอง หรือดียิ่งไปกว่านั้น เมื่อประสบความสำเร็จก็ถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จและเทคนิคการดำเนินงานให้กับชุมชนอื่นๆ ไปปฏิบัติตามหรือเลียนเยี่ยงอย่างในทางที่ดี
กลยุทธ์ที่ 4คือ การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล กรณีนี้จะเห็นได้ชัดในเรื่องของการออกกำลังกายและการเลิกบุหรี่ว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ปัจเจกชนแต่ละคนปฏิบัติเอง แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถออกกำลังกายแทนคนไข้และไม่สามารถเลิกบุหรี่แทนคนไข้ได้ คนจำนวนมากทราบถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แต่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ อาจเป็นเพราะยังไม่มีความคิดในเชิงบวกว่าตัวเองสามารถกำหนดทางเลือกให้ตัวเองได้ว่าจะสูบบุหรี่หรือไม่ แล้วมีความเข้าใจที่จะเลือกทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพคือการเลิกบุหรี่
กลยุทธ์ที่ 5คือ การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพจากเชิงรับเป็นเชิงรุก หรือจากการซ่อมสุขภาพเป็นการสร้างสุขภาพ คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่าข้อนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น ว่าจะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานจากการเป็นผู้ให้บริการสุขภาพมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนประชาชนให้มีความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของประชาชนเอง แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือทัศนคติและวิธีคิดของประชาชนเองว่าจะต้องสร้างเสริมสุขภาพและไปพึ่งพาระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ในขั้นตอนการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่รอให้ป่วยแล้วจึงไปใช้บริการระบบสุขภาพเพื่อการรักษาพยาบาลเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ในนิยามและแนวคิดกลยุทธ์พื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ แสดงให้เห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพของคนทั้งหลาย จากแนวคิดที่ว่าเมื่อเจ็บป่วยให้ไปหาแพทย์ เป็นจะทำอย่างไรที่ตัวเองจะไม่เจ็บป่วย จะได้ไม่ต้องไปรักษาหรือฟื้นฟูสภาพ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและยั่งยืนต่อไปต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวบุคคลและกลุ่มคนเองเท่านั้น.
การป้องกันโรคหมายถึง การขจัดหรับยับยั้งพัฒนาการของโรครวมถึงการประเมินและการรักษาเฉพาะ เพื่อจัดความก้าวหน้าของโรคในทุกระยะ
การป้องกันโรคแบ่งได้เป็น3ดับ ดังนี้
1.การป้องกันโรคระดับแรก(Primary prevention)หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปรวมถึงการปกป้องและต่อต้านการเกิดเฉพาะโรค ได้แก่ การให้สุขศึกษา การรับประทานอาหารเหมาะสมตามวัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การทำงาน การพักผ่อน และนันทนาการอย่างเหมาะสม การได้รับคำปรึกษากับการแต่งงานและเรื่องเพศ การคัดกรองพันธุกรรม การตรวจสุขภาพ
2.การป้องกันโรคระดับที่สอง (Secondary prevention)หมายถึง การได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรคแปละได้รับการรักษาทันท่วงที ความรุนแรงของโรคที่เป็นมีระยะเวลาสั้นสามารถกลับสู่สภาวะของการมีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว
3.การป้องกันโรคระดับที่สาม (Tertiary pervention)เป็นระดับที่ไม่เพียงแต่หยุดการดำเนินของโรคเท่านั้น แต่จะต้องป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพอย่างสมบูรณ์ จุดประสงค์ก็คือให้กลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า


วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม

1. ชื่อโครงการ : โครงการชมรมรักสุขภาพในหมู่บ้านบุษราคัม
 2. หลักการและเหตุผล : ในบางครั้งที่จะต้องออกกำลังกายเพียงคนเดียวจะทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากออกกำลังกาย และเลิกออกกำลังกายไปในที่สุด  แต่ถ้ามีการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน เพื่อจะออกกำลังกายร่วมกัน จะทำให้รู้สึกว่าเรามีเพื่อน เกิดความสนุกสนาน และอยากที่ออกกำลังกายมากขึ้น  มีคำแนะนำต่างๆจากคนในชมรมทำให้สามารถออกกำลังกายได้อยากมีประสิทธิภาพไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย
 3. วัตถุประสงค์ : การจัดโครงการนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะส่งเสริมคนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักหันมารักษาสุขภาพร่างกายของตนเองให้มาก  กระตุ้นให้เกิดความอยากที่จะออกกำลังกาย เชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างคนในชุมชน ให้เกิดความรักใคร่ปรองดองกัน  ช่วยเหลือกัน  มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และคำแนะนำที่ถูกต้องในการออกกำลังกายเพื่อนำมาซึ่งสุขภาพที่แข็งแรง
 4. กลุ่มเป้าหมาย : คนในหมู่บ้านบุษราคัม
 5. วิธีดำเนินการ : 1. ติดต่อประธานหมู่บ้าน และผู้ที่รักในการเล่นกีฬา
                                   2. ติดประกาศเชิญชวนบุคคลในหมู่บ้าน
                                   3. เริ่มจัดกิจกรรม
 6. ระยะเวลาดำเนินการ
: ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 5.30 – 7.00 น. เป็นเวลา 3 เดือน
 7. สถานที่ดำเนินการ : ลานอเนกประสงค์
 8. งบประมาณ : 10,000 บาท
 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1. คนในหมู่บ้านมีสุขภาพดีขึ้น
                                                2. เกิดมิตรภาพอันดีต่อกัน
                               
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ : นายพิชชา   วชิโรปถัมภ์ ม.6/3 เลขที่ 8

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทในการเต้นลีลาศ


"มารยาทในการเต้นลีลาศ"

 มารยาททางสังคมในการลีลาศ ที่ควรทราบมีดังนี้

การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

ก่อนออกลีลาศ
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อน
หญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

ขณะลีลาศ
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืน *** งจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น

3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

เมื่อสิ้นสุดการลีลาศ
1. สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย
2. เมื่อถึงเวลากลับ ควรกล่าวคำชมเชยและขอบคุณเจ้าภาพ (ถ้ามี)
3. สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน ไปส่งยังที่พัก

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1

กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท  ระบบสืบพันธุ์  และระบบต่อมไร้ท่อ
อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ หากมีระบบใดผิดปกติก็จะส่งผลถึงระบบอื่นด้วย จึงควรรู้จักป้องกันและรักษาให้สมบูรณ์แข็งแรงทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ


ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ต่างๆรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อร่วมทำหน้าที่เรียกว่าอวัยวะและประสานกันเป็นระบบจนเป็นร่างกายซึ่งระบบที่เกี่ยงข้องกันนี้ถ้าหากมีระบบใดผิดปกติจะเกิดความผิดปกติเป็นลูกโซ่
การดูแลสุขภาพไม่เพียงแค่เป็นการเยียวยารักษาแต่รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนที่จะเจ็บป่วย

แนวทางการปฏิบัติ
1.    รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาบน้ำให้สะอาด สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อับชื้น
2.    บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำจิตใจให้ร่าเริงอยู่เสมอ
6.    หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.    ตรวจเช็คร่างกาย

1.2 ระบบประสาท
ระบบประสาทคือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยทุกส่วน รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำ
1.2.1 องค์ประกอบ
            ระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่
1.    ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นในระบบประสาท บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะหนักประมาณ 1.4 กก. แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ Grey Matter ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม อีกชั้นคือ White matter เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท

สมองประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนท้าย
-          สมองส่วนหน้าประกอบด้วย
ซีรีบรัม  อยู่ด้านหน้าสุดเกี่ยวกับด้านความจำความนึกคิด ควบคุมสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ
ทาลามัส อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก
ไฮโพทาลามัส  ควบคุมร่างกายในส่วนนอกอำนาจจิตใจ
-          สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
-          สมองส่วนท้าย
ซีรีเบลลัม อยู่ใต้ซีรีบรัม ประสานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ควบคุมการทรงตัว
พอนส์ ควบคุมการเคี้ยวอาหารและการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า การหายใจ และการฟัง
เมดัลลา ออบลองกาตา ควบคุมการหมุนเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ การไอ จาม
2.    ระบบประสาทส่วนปลาย
2.1 เส้นประสาทสมอง 12 คู่
2.2 เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
2.3 ประสาทระบบอัตโนมัติ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
-          ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
-          ระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
-          หลีกเลี่ยงยาที่ส่งผลกระทบต่อสมอง
-          พยายามผ่อนคลายความเครียด
-          รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ระบบสืบพันธุ์ 
เพศชาย

                                                            

1.   อัณฑะ สร้างฮอร์โมนและอสุจิ
2.   ถุงหุ้มอัณฑะ
   3.    หลอดเก็บตัวอสุจิ
    4.    หลอดนำตัวอสุจิ
5.    ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
6.    ต่อมลูกหมาก ทายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
7.    ต่อมคาวเปอร์  หลั่งสารหล่อลื่น


 เพศหญิง

  1.     รังไข่  ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศญิง(เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน)
  2.      ท่อนำไข่ ทางผ่านไข่สู่มดลูก
  3.      มดลูก  ที่ฝังตัวของตัวอ่อน
  4.      ช่องคลอด




การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.    ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
2.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.    งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
6.    สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.    ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
8.    ไม่สำส่อนทางเพศ
9.    เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลิตฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อลำเลียงสารผ่านทางกระแสเลือด
1.    ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก
2.    ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3.    ต่อมไทรอยด์  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
4.    ต่อมพาราไทรอยด์  ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
5.    ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน
6.    รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ
7.    ต่อมไทมัส  ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.    ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.    หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
6.    พักผ่อนให้เพียงพอ